วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เติมคำ

เติมคำ

Gap-fill exercise

Fill in all the gaps, then press "Check" to check your answers. Use the "Hint" button to get a free letter if an answer is giving you trouble. You can also click on the "[?]" button to get a clue. Note that you will lose points if you ask for hints or clues!

ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
"จังหวัดสุพรรณบุรี" เป็นจังหวัดเก่าแก่จังหวัดหนึ่ง อยู่ทาง มีอายุถึงยุคหินใหม่ ประมาณ 3,500-4,000 ปี สืบต่อเนื่องกันเรื่อยมาจนถึงยุคสัมฤทธิ์และเหล็กอายุราว 2,500 ปี ล่วงเข้าสู่ยุคสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมรวดี ทวารวดี ลพบุรี อู่ทอง อยุธยา และปัจจุบันนี้โบราณวัตถุ โบราณสถานที่พบเป็นประจักษ์พยานบ่งบอกว่าจังหวัดสุพรรณฯ มีอายุสูงถึงยุคหินใหม่จริง ไม่เพียงเท่านั้นจังหวัดสุพรรณบุรียังเป็นเมืองพุทธศาสนาอีกด้วย จากการขุดค้นพบพุทธปฎิมากรรมทั่วทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี จากสถิติพบไม่น้อยกว่า 140-150 ครั้ง ตั้งแต่สมัยอมราวดีเป็นต้นมา ทำให้สันนิษฐานได้ว่าจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเมืองที่พุทธศาสนาฝังรากไว้อย่างหนาแน่น ไม่น้อยกว่า 2,300 ปี มาแล้ว ราว พ.ศ. 70 -80
ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบบริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดลานมะขวิด (วัดป่าเลไลยก์) ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อว่า จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว นี้จึงเรียกว่าชื่อว่า เมืองสุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา
เมืองสุพรรณบุรี ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตเมื่อ พ.ศ. 1420 จากนามเดิมเมืองพันธุมบุรีในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดีได้จารึกชื่อไว้ในพงศาวดารเหนือ และนาม "สุพรรณภูมิ" ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ระบุว่าเป็นนครรัฐที่มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรีจึงจัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญอีกด้วย
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมืองตลอดจนโบราณสถานถูกทำลายเหลือเพียงซากปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณบุรีได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่ และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของ (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้
"ห้ามมิให้เจ้านายเสด็จไปเมืองสุพรรณ"
ตั้งแต่สมัยโบราณมีคติถือกันโดยเคร่งครัดต่อกันมาว่า "ห้ามมิให้เจ้านายเสด็จไปเมืองสุพรรณ" แต่จะห้ามมาแต่ครั้งใดและด้วยเหตุผลประการใดนั้นไม่มีผู้สามารถจะตอบได้ จนกระทั่งถึงต้นรัชกาลที่ 5 ก็ยังคงถือกันเป็นประเพณีอยู่เช่นนี้เรื่อยมา เมื่อ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จะเสด็จไปตรวจราชการที่เมืองนี้ พระยาอ่างทองยังทูลห้ามไว้ โดยถวายเหตุผลว่า เทพารักษ์หลักเมืองไม่ชอบเจ้านาย ถ้าเสด็จไปมักจะทำให้เกิดอันตรายต่างๆ แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพไม่ทรงเชื่อ ทรงขืนเสด็จไปเมืองสุพรรณบุรีเป็นพระองค์แรก เพื่อจะทรงตรวจราชการที่เมืองนี้ ควรจะช่วย เหลือให้ความสะดวกอย่างไร หรือควรทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นอย่างไร ไม่ใช่การไปทำความชั่ว เทพารักษ์ประจำเมืองคงจะไม่ให้โทษเป็นแน่ เมื่อเสด็จกลับจากตรวจราชการครั้งนั้นแล้ว ก็ไม่ทรงได้รับภยันตรายประการใด เจ้านายพระองค์อื่นทรงเห็นเช่นนั้นก็ทรงเลิกเชื่อถือคติโบราณ และเริ่มเสด็จประภาสกันต่อมาเนืองๆ
ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมือง สุพรรณอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่นั้นเป็นมาก็ไม่มีผู้ใดพูดถึงคติที่ห้ามเจ้านายมิให้เสด็จไปเมือง สุพรรณอีกเลย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสุพรรณก็รวมอยู่ในมณฑลนครชัยศรี ซึ่งประกอบด้วย เมืองนครชัยศรี สุพรรณบุรี และสมุทรสาคร ในปี พ.ศ. 2438 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2456 มีการเปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็นจังหวัด เมืองสุพรรณบุรีจึงเป็นจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่นั้นมา ...
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ........ต้นมะเกลือ
เป็นไม้มงคลที่ได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระราชทานเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 เพื่อให้พสกนิกรชาวสุพรรณบุรีนำมาปลูกเป็นสิริมงคล
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 8-15 เมตรบางต้นที่มีความสมบูรณ์มากอาจสูงถึง 30 เมตร ลักษณะลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป แตกกิ่งก้านสาขาทุกส่วนของลำต้น เปลือกนอกเป็นสีดำขรุขระ
ประโยชน์ของต้นมะเกลือมีมากมาย และใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น คือ ลำต้นใช้ทำไม้ถือกบ (กบใสไม้) ทำเครื่องตกแต่บ้าน ผลมะเกลือใช้ย้อมผ้า ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เปลือกใช้ผสมเครื่องดื่มพื้นเมืองบางชนิดเพื่อกันบูด
ดอกไม้ประจำจังหวัด.........สุพรรณิการ์
เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร กิ่งก้านคดงอ ใบรูปหัวใจ แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อออกกระจายที่ปลายกิ่ง บานทีละดอก ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไข่มีขน ผลกลมเมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกมาก ราวกุมภาพันธ์-เมษายน มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมือง ของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ
จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5358 ตารางกิโลเมตร
แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ ได้แก่
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
อำเภอบางปลาม้า
อำเภอศรีประจันต์
อำเภอดอนเจดีย์
อำเภออู่ทอง
อำเภอเดิมบางนางบวช
อำเภอด่านช้าง
อำเภอหนองหญ้าไซ
อำเภอสองพี่น้อง
อำเภอสามชุก
อณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ทิศใต้
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสิงห์บุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดกาญจนบุรี
บุคลสำคัญ ของจังหวัดสุพรรณบุรี
สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณศิริ)
ชาวสุพรรณผู้มีคุณูปการ และสร้างชื่อเสียงเกียรติภูมิให็กับถิ่นฐานบ้านเกิดของท่าน ที่เป็นพระสังฆราชา จนได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์สูงสุด ถึงสมเด็จพระสังฆราช คือสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก องค์ที่ 17 (ปุ่น สุขเจริญ) สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) ประสูติที่ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ทรงศึกษาปริยัติธรรม ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค และยังมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษและภาษาจีนอีกด้วย ท่านเป็นพระภิกษุที่ชอบศึกษาค้นคว้า ชอบฟังปาฐกถา จนมีความรู้กว้างขวาง และมีความสามารถด้านการประพันธ์ ปรากฎผลงานมากมาย เช่น หนี้กรรมหนี้เวร พุทธชยันตี ลิขิตสมเด็จ และยังเป็นองค์เทศนา (ปฎิภาณ) ที่เป็นเยี่ยม ทรงได้รับการสถาปนา เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปริณายก องค์ที่ 17 เจ้าอาวาสวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม และอยู่ในพระสมณศักดิ์นี้จนสิ้นพรธชนม์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2516 อนุสรณ์สถานที่ชาวสุพรรณยังระลึกถึง พระคุณของท่านจวบจนทุกวันนี้คือ การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ขึ้น ที่บ้านเกิดของท่าน คืออำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี